โรงเรียนสอนตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือ จากทางภาครัฐและเอกชน >>อ่านต่อ





 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

  การคำนวณผ้า

 

 

 

 

ารคำนวณผ้า ( วิธีคำนวณเบื้องต้น )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การคำนวณผ้าแบบตัดเพียง1 ตัว

หมายถึง  คำนวณการใช้ผ้าเพื่อตัดชิ้นงานแค่ตัวเดียว  วิธีนี้เป็นของช่างตัดเย็บเสื้อผ้าเฉพาะบุคคล  ( ร้านตัดเสื้อ)  เป็นการคำนวณแบบคล่าวๆ ใช้ความยาวของตัวชิ้นงาน บวกความยาวของอะไหล่ชิ้นใหญ่ ( ถ้าใช้ผ้าหน้าแคบ 36 นิ้ว ผลลัพธ์ที่ได้ คูณ2 ) บวกเผื่อ ประมาณ 20 เซนติเมตร   เช่น เสื้อ ( รอบอก 35 นิ้ว )ยาว 65 ซ.ม.+ แขนยาว 54 ซ.ม.

= 119 ซ.ม. +เผื่อ 20 ซ.ม. ผลลัพธ์ คือ 139 ซ.ม. หรือ ประมาณ 55นิ้ว ถ้านำไปตัดเสื้อ

1 ตัวใช้ผ้าหน้ากว้าง 45 นิ้ว จะเหลือเศษผ้าเล็กน้อย  แต่ถ้าหลายตัว ( อันนี้ลองคูณดูเอง )

จะเหลือค่อนข้างมาก  ดังนั้น วิธีนี้เรานำไปใช้ไม่ได้ เพราะมักเกินจำนวนที่ต้องใช้ไปมาก

และใช้กับผ้ายืดไม่ได้อีกด้วย

 

การคำนวณแบบอุตสาหกรรม

การคำนวณแบบอุตสาหกรรม ( หาพื้นที่ของแพทเทิร์น ) หมายถึง การคำนวณขนาดพื้นที่ของผืนผ้าที่ใช้จริงเป็นตารางนิ้ว วิธีนี้เป็นการคำนวณที่ได้ผลค่อนข้างแม่นยำและนิยมใช้ที่สุดสำหรับการทำเสื้อผ้าหลายตัวเพราะสามารถควบคุมการสูญเสียและการโกงผ้าได้ 

 

 

 

 

 

 

คำนวณผ้าเพื่อตัดงานจำนวนมากหรือค่อนข้างมาก

อาจมีจำนวนหลัก 100 ตัว ถึง หลายพันตัว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีการ คำนวณแบบอุตสาหกรรม

นำ PATTERN ที่จะใช้ตัดจริงมาทดลองวางบนผืนผ้าหรือกระดาษที่กำหนดหน้ากว้างเท่ากับผ้าจริง

โดยมีหลักการเบื้องต้นว่า

1. ต้องวาง PATTERN ให้เกรนผ้าถูกต้อง

2. ต้องวาง PATTERN ให้ชิดกันพอดี

แล้ววัดความยาวต่อ1ผืนนำไปคูณตามสัดส่วนให้ครบ

จำนวนงาน เช่น  ตัวอย่างการวางมาร์คได้จำนวนเสื้อ

6 ตัวต่อ 1 ผืน  ใช้ความยาว 104 นิ้ว ถ้าต้องการ

120 ตัว ต้องปูผ้าทั้งหมด 20 ชั้น แสดงว่า ใช้ผ้าทั้งหมด 2080 นิ้ว หรือประมาณ 52 เมตร เป็นต้น

สูตรสำหรับผ้าธรรมดา

( จำนวนงานทั้งหมด หาร จำนวนการวางต่อผืน )

คูณความยาวต่อผืน =  ผ้าที่ต้องใช้ทั้งหมด

สูตรสำหรับผ้ายืด

ชั่งน้ำหนักผ้าที่วางมาร์คต่อ 1 ผืน คูณ จำนวนผืน

 

 

 

 

วิธีการ คำนวณผ้าเพื่อตัดงานจำนวนน้อย ( ขั้นต่ำ 10 ตัว )

ผ้าธรรมดา ให้หาขนาดพื้นที่ของ PATTERN ทุกชิ้น แล้วบวกรวมกันเพื่อได้

ขนาดพื้นที่ใช้จริง  ผลลัพธ์ที่ได้ หาร หน้ากว้างของผ้า คูณจำนวนงานทั้งหมด

(บวกเผื่อสูญเสีย 15% - 20% ) เช่น  ใช้กรณีเสื้อตัวเดิม พื้นที่ของ PATTERN รวมทุกชิ้น

(ชิ้นหน้า+ชิ้นหลัง+แขนซ้ายขวา) ได้ 1792 ตารางนิ้ว หาร หน้าผ้ากว้าง 45 นิ้ว = 39.8 นิ้ว

(ความยาวของผ้าที่ใช้ตัด 1 ตัว) คูณ จำนวนงานทั้งหมด 20 ตัว = 796 นิ้ว หรือประมาณ 20 เมตร บวกเผื่อ 15% = 23 เมตร ( จำนวนซื้อผ้า )

ผ้ายืด ชั่งน้ำหนักผ้าจากตัวอย่างที่ทดลองเย็บจากผ้าจริง บวกเพิ่ม 20% ถึง 25%  คูณจำนวนงาน  เช่น เสื้อยืด 1 ตัวเมื่อเย็บแล้ว ชั่งน้ำหนักได้ 200กรัม บวก 25% = 250 กรัม ถ้าต้องการงาน 50ตัว ใช้ผ้าทั้งหมด 250 คูณ 50 =  12500 กรัม

หรือ 12.5 กิโลกรัม เป็นต้น

 

หมายเหตุ  วิธีการที่เสนอไว้ มีตัวแปรอีกพอสมควรเช่น เนื้อผ้าที่ใช้ , หน้ากว้างของผ้า ,ลายน้ำขึ้นน้ำลงของผ้า ฯ ที่จะทำให้ความต้องการใช้จำนวนผ้าแต่ละกรณีแตกต่างออกไป  หากต้องการความขัดเจนสอบถามเพิ่มเติมที่สถาบันฯได้ ยินดีให้ข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





 
 

 
 

ศูนย์อบรมแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรม แพ็ทเทิร์น ไอที

สถาบันพัฒนาแพทเทิร์นอุตสาหกรรมและการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เว็บสล็อตPATTERN IT :: โทรศัพท์ 0-2458-2321 ถึง 22   :: สายด่วน 081-922-6994, 081-828-2296   E-mail:
thaipattern@gmail.com wholesale jerseys

เว็บตรง